มองอดีต - ทำปัจจุบัน - มองอนาคต

บทความจากผู้บริหาร

5 June 2023

นายโพทัย วิเชียรรัตน์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

มองอดีต ย้อนหลัง 10 ปีธุรกิจประกันวินาศภัย 2555

             หากมองย้อนหลังกลับไปในธุรกิจประกันวินาศภัยซัก 10 ปี มีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในแง่ดีและไม่ดี ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มนุษย์จะควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ซึ่งมักจะมีผลกระทบต่อชีวิตครอบครัว สังคมและธุรกิจต่างๆ แต่อย่างไรก็แล้วแต่ภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยยังมีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอเฉลี่ยประมาณ 3-4 % มาโดยตลอด

             ปี 2554 จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ก็ตามแต่ยังคงมีการเติบโตในปีดังกล่าวถึง 10.6% จะมีเพียงในปี 2556 ที่มีอัตราการเติบโตสูงสุดในประวัติศาสตร์ เนื่องจากได้รับอนิสงค์จากนโยบายสนับสนุนให้สิทธิประโยชน์สำหรับประชาชนที่จะเข้าถึงรถยนต์คันแรก ซึ่งมีการเติบโต 29.5%

            ปี 2557 มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจและมีประกาศให้การจัดเลือกตั้งใหญ่อีก 4 ปีขึ้นในปี 2562 จนในปี 2562 ได้พบเชื้อไวรัสสายพันธ์ใหม่เกิดขึ้นหลายระลอกยังไม่มีน่าทีว่าจะกลับเข้าสู่ชีวิติปกติได้

            ปี 2562 การระบาดทั่วไปของโควิด-19 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไวรัสสายพันธ์ใหม่ ถูกพบครั้งที่แรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน 5 ถูกแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563

            ไวรัสดังกล่าวมีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่านการติดเชื้อจากละอองเสมหะ จากการไอจามและการสัมผัสเชื้อและมีอาการโดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 5 วัน แต่มีช่วงอยู่ระหว่าง 2 ถึง 14 วัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน ในขณะที่ยังไม่มีวัคซีนนั้นการรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าจัดการกับอาการและรักษาแบบประคับประคอง มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำ คือ การใช้แอลกอฮอล์การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ การแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็วในอัตราทวีคูณ ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต้องจำกัดการเดินทาง การท่องเที่ยว การกักด่าน การห้ามออกจากเคหสถานเวลาค่ำคืน การยกเลิกการจัดงานที่มีการชุมนุม การปิดสถานศึกษา และการปิดธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้หลายธุรกิจได้รับผลกระทบบางรายต้องเลิกธุรกิจไปก็มีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน ณ มกราคม 2565

No, of doses administered 100 /People % of population given 1+dose Fully Vaccinated Booster dose Daily rate of doses administered
140,620,319 201.5 81.3 76 43 64,326

อ้างอิง : www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution

ทำปัจจุบัน - สภาวะเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน

             เศรษฐกิจโลก เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2564 ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ฟื้นตัวช้า เพราะมีสัดส่วนพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูง  ในปี 2565 นี้จะเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นอย่างชัดเจนราว 3.9% โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในประเทศ ทั้งการบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยวภายในประเทศหลังจากมีอัตราการฉีดวัคซีนกระจายทั่วถึงมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเริ่มกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง ซึ่งจะมาทดแทนเครื่องยนต์ด้านการส่งออกสินค้าที่จะชะลอลงบ้าง หลังจากได้เร่งฟื้นตัวไปก่อนหน้าแล้วตามทิศทางเศรษฐกิจโลก คาดกันว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกลับมาได้เพียงบางส่วนหลังไทยเปิดประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งเป็นรายใหญ่ของไทย (11 ล้านคนในปี 2562) เนื่องจากรัฐบาลจีนจะยังคงเข้มงวดต่อการเดินทางออกนอกประเทศคาดว่าในปี 2565 อาจมีจำนวนนักท่องเที่ยวประมาณ 6 ล้านคน (15% ของระดับก่อนเกิดโควิด 19)   และอาจต้องใช้เวลาอีกกว่า 4 ปีจึงจะกลับไปสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดที่ 40 ล้านคน  โดยสรุป การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวยังคงเปราะบาง ต้องใช้เวลา ทำให้ธุรกิจบางส่วนยังไม่สามารถกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ รวมถึงแรงงานบางกลุ่มที่อาจยังต้องตกงานหรือว่างงานแฝงไปอีกระยะหนึ่ง

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก

            ก้าวถัดไปของเศรษฐกิจไทย จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างต่าง ๆ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก หรือ Global Mega Trends ที่มาถึงเร็วขึ้น     เช่น1) กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะกลายมาเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมของโครงสร้างการค้าโลก โดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐฯ และจีน 2) เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งต่อการดำเนินชีวิตและ 3) การแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต และอาจจะกลายเป็นเครื่องมือเพื่อแย่งชิงการเป็นมหาอำนาจด้วย ไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับโครงสร้างการค้า การส่งออก และการลงทุน ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจากความต้องการสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงเงื่อนไขทางการค้าที่อาจเพิ่มขึ้น

ที่มา: สศช. และ CEIC รวบรวมข้อมูลและประมาณการโดย ธปท.

             อัตราเงินเฟ้อของไทย จากสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อต้องบอกว่ายังไม่น่ากังวลเท่าประเทศอื่น ๆ  ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2564 ยังส่งผลต่อไทยไม่มากนัก ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐที่ยังตรึงราคาน้ำมันดีเซล และอีกส่วนมาจากการที่ผู้ประกอบการยังแบกรับต้นทุนไว้เอง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศยังไม่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การแบกรับต้นทุนของผู้ประกอบการส่งผลต่อความเข้มแข็งของฐานะการเงินภาคธุรกิจ และแนวโน้มการลงทุนในอนาคต ดังนั้น หากราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจเห็นการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการให้ปรับสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
             ภาครัฐอาจมีการลดการสนับสนุนงบประมาณในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจไว้ โดยเฉพาะมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปี 2565   ความจำเป็นในการเยียวยาจากภาครัฐจะลดลง  คงเหลือเพียงภาคท่องเที่ยวและบริการบางส่วนที่ยังจำเป็นต้องได้รับการประคับประคองไปอีกระยะหนึ่ง ขณะเดียวกัน ความจำเป็นด้านการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้พร้อมรับกับกระแสโลกอนาคตจะมีมากขึ้น โดยบางส่วนอาจต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากภาครัฐ โดยสรุปปี 2565 จะเป็นปีแรกที่เศรษฐกิจไทยเดินออกจากมรสุมโควิด 19 อย่างเต็มตัว เครื่องยนต์เศรษฐกิจทุกตัวทยอยกลับมาทำงานได้ตามปกติมากขึ้น แต่ฟ้าหลังมรสุมนี้ก็อาจไม่ได้สดใสนัก เพราะมีอุปสรรคและความท้าทายจากรอบด้านที่จะต้องเผชิญ ซึ่งเราจะผ่านไปด้วยกัน
             ธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2565 หลายธุรกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดของการปรับตัวให้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆและมีการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการควบคุมการแพร่ได้ดีเป็นลำดับแล้วนั้น ทำการระบบหมุนเวียนทางการเงินในระบบเศรษฐกิจมีการจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น ในธุรกิจประกันภัยจากข้อมูลจากสมาคมวินาคภัยไทย นับว่าเป็นวงจรธุรกิจประกันภัยมีความสำคัญและจำเป็นในทุกๆ ภาคส่วน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ประชาชนส่วนมาก ล้วนมีวงจรประกันภัยเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น

ข้อมูลเบี้ยประกันภัยรับประกันภัยทุกประเภท 10 ปี ย้อนหลัง

ข้อมูลสัดส่วนเบี้ยประกันภัยรับประกันภัยทุกประเภท ปี 2565

มองอนาคต

             นายหน้าประกันภัยวินาศภัย ความท้าทายรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างสังคมที่ดี

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าทิศทางของธุรกิจประกันวินาศภัยมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น ซึ่งนับว่าเป็นแสงสว่างที่จะนำพาให้เราก้าวสู่ความเติบโตขององค์กรได้ แต่สิ่งนายหน้าควรจะต้องทำการเตรียมตัวศึกษาทำความเข้าใจเพื่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ดังนี้

กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับจากหน่วยงานรัฐ

            ได้มีบทบัญญัติในการบังคับใช้และการมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ถือเป็นกติกาสากลที่พร้อมสำหรับนักลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามาในธุรกิจประกันวินาศภัย เช่น พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PADA – Privacy for All), ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เกี่ยวกับการระบุตัวตนและการยืนยันตัวตน ของ สำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงิน และ“พระราชบัญญัติด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับบ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2562 รวมถึงประกาศต่างๆ ของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เช่น เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการออก และเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันภัย และการดำเนินการของนายหน้า ตัวแทนวินาศภัย และธนาคาร ซึ่งเป็นคนกลางที่จะต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์ที่ดีต่อสังคม มีความมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือ ภายใต้กรอบกติกาเดียวกัน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาและสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรได้มีหน้าความรับรู้รับผิดชอบต่อกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างถูกต้อง หรือ IFRS 17 is an International Financial Reporting Standard that was issued by the International Accounting Standards Board in May 2017

สังคมยุคสังคมดิจิทัล (Digital Economy)

             หรือ ยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม เริ่มได้สัมผัสกับการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) เริ่มคุ้นเคยกับการใช้ระบบสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ (IT) ซึ่งเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ทุกชีวิต ทิศทางของโทรคมนาคมยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วมาก ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวของเทคโนโลยี ผู้เอาประกันภัยจะได้รับข้อมูลข่าวสารทางอุปกรณ์สื่อสารและ IT (Content & Application) มากขึ้น การที่มีระบบข้อมูล และเนื้อหาสาระจำนวนมาก การบริโภคข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม (Bandwidth) อย่างมากมาย และทำให้เกิดธุรกรรม (E-Business) และการบริหารธุรกิจแบบ on-line ต่อคู่ค้าและลูกค้า ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ใช้บริการ เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของทุกคนและชีวิตการทำงาน การมีระบบปฏิบัติการในองค์กรนายหน้าประกันภัย เพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างองค์กร (Application Programming Interface : API) เพื่อการสนองความต้องการที่รวดเร็วและทันสมัย

การควบรวบรวมกิจการ(Mergers And Acquisitions) นโยบายรับประกันภัยต่าง ๆ

            เพื่อให้เกิดประโยชน์ ในการสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ  เสริมสร้างรายได้ แบบก้าวกระโดด  ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ  สกัดกั้นคู่แข่งขันให้มีน้อยลง   เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น สร้างจุดแข็งในการดำเนินการทางธุรกิจ  เพิ่มโอกาสให้กับบริษัท ลดต้นทุนการบริการต่อหน่วย เสริมสร้างประสิทธิภาพทางการเงิน เพื่อความอยู่รอดและผลตอบแทนที่น่าลงทุนในธุรกิจประกันวินาศภัย  เหตุผลและความจำเป็นอีกประการหนึ่งที่ผ่านมามีผลประกอบการจากการรับประกันภัยที่ขาดทุนจากการรับประกันภัยสะสมมากขึ้นอันเกิดจากการรับประกันภัยโควิค ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายรับประกันภัยที่เข้มงวด ระมัดระวังรอบคอบมากขึ้น สำหรับบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพิจารณารับประกันภัยโควิด 19 มีการออกกรมธรรม์ประกันภัยแบบ” เจอ จ่าย จบ” และกรมธรรม์แบบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลรวมถึงอาการโคม่าสมองไม่สั่งการ ด้วยวัตถุประสงค์ในการใช้โอกาสในวิกฤติครั้งนี้เข้ารับประกันภัยและเพื่อบรรเทาผลร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นในผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อ ซึ่งในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ยังระบาดอยู่ในพื้นที่บางกลุ่มและมีการควบคุมที่ดี บริษัทประกันภัยมีการบริหารความเสี่ยงภัยด้วยการจัดการประกันภัยต่อ ทำให้ผลประกอบการจากการรับประกันภัยที่ดี ต่อมาบริษัทประกันภัยได้มีการรับประกันภัยโดยรับความเสี่ยงภัยไว้เองจำนวนมาก คาดการณ์ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะคลี่คลายลง ประชาขนได้รับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นแล้วจะเป็นปัจจัยบวกในการเพิ่มจำนวนกรมธรรม์ในมากขึ้น แต่เนื่องจากเชื้อโรคมีกลายพันธ์มีการติดเชื้อโดยง่ายและรวดเร็ว มีการแพร่กระจายในวงกว้าง มีผู้เอาประกันภัยติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น มีการแจ้งเคลมสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันวินาศภัยมากขึ้น มีการสัญญาณจากบางบริษัทประกันภัย บริษัทมีบริษัทประกันภัยทั้งสิ้น 64 บริษัท ปัจจุบันในปี 2565 ณ 30 เมษายน 2565 มีประกันวินาศภัยที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเพื่อความอยู่รอดต่อไปในอนาคตอยู่จำนวน 54 บริษัท ซึ่งการควบรวมกิจการจะสร้างความแข็งแรงมากขึ้นในบริษัทประกันภัยค่ายใหญ่ แต่จะกระทบต่อการแข่งขันต่อบริษัทประกันภัยขนาดเล็กซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้มีการปรับตัวมากขึ้น ในมุมมองของนายหน้าประกันภัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในการพิจารณาความเสี่ยงที่ดีเบื้องต้นด้วยความเข้าใจ ในธุรกิจประกันวินาศภัยว่าบริษัทประกันภัยและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้เอาประกันภัย นายหน้า และบริษัทประกันภัย ต้องมีกำไรจากการประกันภัย (Underwriting Income) ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีประมาณ 5% นอกเหนือการกำไรจากการลงทุน (Investment Income) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในทุกๆ ด้านของฝ่าย แน่นอนการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากอุบัติเหตุจริง ควรจะพิจารณาด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม

การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรสู่ผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership)

โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในรูปแบบต่างๆ (Infrastructure) :

            โครงสร้างพื้นฐานขององค์กรนั้นรวมตั้งแต่อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นไปจนถึงเทคโนโลยีตลอดจนข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องพร้อมและช่วยส่งเสริมให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ศักยภาพด้านทรัพยากรบุคคลจะพร้อมแค่ไหน แต่หากมีปัญหาที่ทรัพยากรด้านอื่น ก็ย่อมทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างเชื่องช้าหรือติดขัดเช่นกัน หากองค์กรมีโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประมวลผลและติดตามการปฏิบัติงานได้ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดในการให้ผู้เอาประกันภัยซื้อซ้ำ แนะนำบอกต่อ ก็จะทำให้ลดต้นทุนและสร้างยอดขายและผลกำไรมากขึ้น

กระบวนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ (Process & System) : 

            ระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน ชัดเจน มีระบบระเบียบ มีขั้นตอนที่เหมาะสม มีการประเมินผล รวมถึงมีการแก้ไขจุดบกพร่องได้อย่างทันท่วงที มีระบบการป้องกันปัญหา ตรวจทาน การมีระบบการทำงานที่ดีนั้นจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) : 

            ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ของทุกองค์กร การที่องค์กรมีพนักงานที่มีศักยภาพในการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและองค์กร ตลอดจนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร รวมถึงมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรพัฒนาได้ก้าวไกลและมั่งคง

คิดได้ - ทำเป็น – เห็นผล การพัฒนาคนแนวใหม่ : Inside Out Development Approach

คิดได้

             คิดได้ ในอดีตที่ผ่านมาองค์กร มักจะมุ่ง เน้นการพัฒนาคนที่เปลือกนอกคือมุ่งเน้นที่การ พัฒนา ”องค์ความรู้ (Knowledge)” “ทักษะ (Skill)” หรือ “พฤติกรรม (Behavior)” มากกว่าการพัฒนา ที่แก่นแท้ของคนซึ่งหมายถึง “ทัศนคติ (Attitude)” “แรงจูงใจ (Motivation)” หรือ “อุปนิสัย (Trait)” จึงทำให้การพัฒนาบุคลากรไม่ได้ผลเท่าที่ควรการ พัฒนาคนในหลายองค์กรมักจะมุ่งเน้นผลการ พัฒนาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ดังนั้น รูปแบบ การพัฒนา และฝึกอบรมจึงออกมาในลักษณะของ การพัฒนาความรู้ ทักษะ และการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมภายนอกเพียงอย่าง ควรจะฝึกให้เกิด เป็นต้นทุนในการต่อยอดความคิดเชิงลึก เพื่อการ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติงาน ภายใต้ขอบเขต ความรับผิดชอบที่เหมาะสมต่อค่าจ้าง และคำนวณ ประสิทธิผลได้

ทำเป็น

            ทำเป็น ลงทุนการพัฒนาคนเพื่อให้เกิดคุณค่าในองค์กรจะต้องลงมือปฏิบัติงานได้จริง สร้างความเชื่อมั่นของบุคคลกรที่เห็นความเปลี่ยนจากการพัฒนาความรู้ ทักษะ และพฤติกรรม ที่สอดคล้องกับระยะเวลาที่มีการปรับปรุงให้สูงขึ้น (Learning Curve) ไปสู่การพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป นำไปสู่การพัฒนาตนเอง (Self-Development) มากกว่าการสั่งการ เพื่อนำสู่ความรับผิดชอบที่สูงขึ้น

เห็นผล

            การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้น นอกจากจะทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ เกิดจากความพยายามในการที่เกิดจากการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางอยู่เสมอ (Continuous Improvement) ส่งผลให้เกิดภาวะผู้นำความคิด ผุ้นำคน เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อคนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือ ได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่ องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ การกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตก้าวหน้าจะต้องควบคู่สอดคล้องกัน เพื่อเกิดประสิทธิภาพและเป็นกำลังที่จะขับเคลื่อนองค์กรสู่ผู้นำด้านต้นทุนได้

เป้าหมายและนโยบาย (Goal & Policy) :

 

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือองค์กรต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ตลอดจนมีทิศทางเดินไปสู่จุดหมายให้เห็น เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วย่อมต้องมีนโยบายธุรกิจตลอดจนนโยบายองค์กรที่ออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย หากองค์ใดไม่มีเป้าหมาย หรือไม่มีนโยบายที่กระจ่างชัด ก็เหมือนเรือที่แล่นอยู่ในทะเลโดยขาดเข็มทิศ หรือเรือที่อยู่กลางทะเลซึ่งมีหมอกหนาปกคลุม ก็ยากที่จะรู้ว่าเรือควรจะมุ่งหน้าไปทางไหน เพื่ออะไร เป้าหมายที่ชัดเจน นโยบายที่มีประสิทธิภาพ จะมีส่วนที่ทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว มีทิศทาง และมีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย